บทความ

อำเภอพิบูลย์รักษ์

รูปภาพ
อำเภอพิบูลย์รักษ์ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้ ทิศเหนือ  ติดต่อกับ อำเภอเพ็ญ และ อำเภอบ้านดุง ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ อำเภอทุ่งฝน ทิศใต้  ติดต่อกับ อำเภอหนองหาน ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภอเพ็ญ การแบ่งเขตการปกครอง การปกครองส่วนภูมิภาค อำเภอพิบูลย์รักษ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3  ตำบล  37  หมู่บ้าน  ได้แก่ 1. บ้านแดง (Ban Daeng) 15 หมู่บ้าน 2. นาทราย (Na Sai) 11 หมู่บ้าน 3. ดอนกลอย (Don Kloi) 11 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่อำเภอพิบูลย์รักษ์ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  3 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแดงทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทรายทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลอย  ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนกลอยทั้งตำบล อักษรไทย อำเภอพิบูลย์รักษ์ อักษรโรมัน Amphoe Phibun Rak จังหวัด อุดรธานี ข้อมูลสถิติ พื้นที่ 186.4  ตร.กม. ประชากร 24,724 คน  ( พ.ศ. 2557 ) ความหนาแน่น 132.63 คน/ ตร.กม. รหัสทางภูมิศาสต...

งานเทศกาลโคมลม อำเภอพิบูลย์รักษ์

รูปภาพ
งานเทศกาลโคนลม อำเภอพิบูลย์รักษ์   งานเทศกาลโคมลม   อำเภอพิบูลย์รักษ์     จังหวัดอุดรธานี    ชมการปล่อยโคมลม   การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน  และการแสดงสินค้า  จากกลุ่มแม่บ้าน   และการทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม  จากภูมิปัญญาชาวบ้าน  จัดขึ้นระหว่างวันที่  25-26  ธันวาคมของทุกปี หลวงปู่พิบูลย์นามลือเลื่อง เมืองโคมลม แหล่งอุดมปลาห้วยหลวง โชติช่วงอารยธรรมโบราณ” ข้อความดังกล่าวเป็นคำขวัญของ อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี อำเภอเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองอุดรธานี ห่างตัวจังหวัดไปประมาณ 51 กม. ซึ่งที่ อ.พิบูลย์รักษ์ นี้เองมีประเพณีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาวอีสาน ที่มีการสืบทอดกันมานานจนกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นไปแล้ว ชาวบ้านในท้องถิ่นนี้ยังคงถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาทุกๆ ปี ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาเดือน 11 คือ “ประเพณีปล่อยโคมลม และโคมไฟ” ชาวบ้านจะร่วมกันทำโคมลม และโคมไฟ ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน ด้วยคติความเชื่อของชุมชนที่ว่าการปล่อยโคมลม และโคมไฟนั้น เป็นการส่งเหล่าเทวดาอารักษ์กลับขึ้นสู่สวรรค์ หลังจาก...

ประวัติหลวงปู่พิบูลย์

รูปภาพ
ประวัติหลวงปู่พิบูลย์ วัดพระแท่น บ้านแดง อุดรธานี ประวัติหลวงปู่พิบูลย์  วัดพระแท่น     หลวงปู่พิบูลย์  นามเดิมชื่อ  พิบูลย์  เกิดที่บ้านพระเจ้า  ตำบลมะอึ  อำเภอธวัชบุรี  จังหวัดร้อยเอ็ด  บิดาชื่อสา  มารดาชื่อโสภา  นามสกุลแซ่ตัน  บิดาเป็นคนจีน  มารดาเป็นคนจังหวัดร้อยเอ็ด  มีอาชีพทำร่ทำนาและค้าขายจนมีฐานะมั่นคง  ตามปกติหลวงปู่มีอุปนิสัยชอบทำบุญบำเพ็ญทานแก่พระภิกษุและคนทุกข์คนจนผู้ตกทุกข์ได้ยากเพราะหลวงปู่เห็นว่า ผลบุญกุศลที่ได้ทำแล้วจะทำให้เกิดบุญกุศลเกิดความสุขในภพนี้  และภพหน้า บุญกุศลเป็นความดีและเป็นเครื่องห้ามกั้นไม่ให้ไปสู่อบาย หลวงปู่เอาใจใส่ทั้งการบำเพ็ญทาน  รักษาศีล  เจริญเมตตา  ต่อมาได้แต่งงานกับหญิงชาวบ้านพระเจ้า  แต่ไม่ทราบชื่อ  อยู่ด้วยกันมาหลายปีไม่มีบุตร ส่วนภรรยาต้องการบุตรมาสืบสกุล จึงได้ปรึกษากับหลวงปู่พิบูลย์ จึงได้ตกลงกันไปขอบุตรของนางจันทีเพราะนางจันทีมีลูกหลายคน  นางจันทีก็ยินดียกให้เป็นเด็กผู้หญิงอายุประมาณ   5  ปี หลวงปู่พิบ...