งานเทศกาลโคมลม อำเภอพิบูลย์รักษ์
งานเทศกาลโคนลม อำเภอพิบูลย์รักษ์
งานเทศกาลโคมลม อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี ชมการปล่อยโคมลม การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และการแสดงสินค้า จากกลุ่มแม่บ้าน และการทอผ้ามัดหมี่ย้อมคราม จากภูมิปัญญาชาวบ้าน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 ธันวาคมของทุกปีหลวงปู่พิบูลย์นามลือเลื่อง เมืองโคมลม แหล่งอุดมปลาห้วยหลวง โชติช่วงอารยธรรมโบราณ” ข้อความดังกล่าวเป็นคำขวัญของ อ.พิบูลย์รักษ์ จ.อุดรธานี อำเภอเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองอุดรธานี ห่างตัวจังหวัดไปประมาณ 51 กม. ซึ่งที่ อ.พิบูลย์รักษ์ นี้เองมีประเพณีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของชาวอีสาน ที่มีการสืบทอดกันมานานจนกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นไปแล้ว ชาวบ้านในท้องถิ่นนี้ยังคงถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาทุกๆ ปี ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาเดือน 11 คือ “ประเพณีปล่อยโคมลม และโคมไฟ” ชาวบ้านจะร่วมกันทำโคมลม และโคมไฟ ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน ด้วยคติความเชื่อของชุมชนที่ว่าการปล่อยโคมลม และโคมไฟนั้น เป็นการส่งเหล่าเทวดาอารักษ์กลับขึ้นสู่สวรรค์ หลังจากได้ทำหน้าที่ลงมาช่วยปกปักษ์รักษาชาวบ้านให้รอดพ้นปลอดภัย จากเหตุเภทภัยจากพวกปีศาจในช่วงเข้าพรรษา และเป็นการปล่อยทุกข์โศก สิ่งอัปมงคลทั้งหลาย ให้ลอยไปกับโคมด้วย
ความเชื่อของชุมชนชาวบ้านที่ว่าในช่วงการเข้าพรรษา พระสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่เฉพาะแต่ในวัด ไม่สามารถออกธุดงค์โปรดสัตว์ไปในที่ต่างๆ ได้ จึงเป็นโอกาสให้ภูตผีปีศาจออกมาสร้างเหตุเภทภัย ให้กับชาวบ้านเป็นประจำทุกปี เทวาอารักษ์ที่สถิตอยู่บนสวรรค์ จึงลงมาปกปักษ์รักษาชาวบ้านในช่วงเข้าพรรษา ดังนั้นเมื่อถึงช่วงออกพรรษาชาวบ้านจึงมีการปล่อยโคมลม และโคมไฟ เพื่อเป็นการส่งเหล่าเทวดาเหล่านั้นกลับคืนสู่สวรรค์
นอกจากคติความเชื่อดังกล่าวนี้แล้ว ชาวบ้านในสมัยโบราณยังได้ใช้ประโยชน์จากโคมลม และโคมไฟในแง่ของการสื่อสารอีกทางหนึ่งด้วย โดยชาวบ้านจะเขียนใบฎีกาบอกบุญต่างๆ เช่น การทำบุญบูรณะซ่อมแซมวัดที่ชำรุดทรุดโทรม หรือการทำบุญในเทศกาลต่างๆ ผูกติดกับโคมดังกล่าว แล้วก็ปล่อยให้ลอยขึ้นท้องฟ้า เมื่อโคมลม และโคมไฟดังกล่าวลอยไปตกที่ใด ข่าวการบอกบุญก็จะแพร่กระจายไปถึงที่นั้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแขนงหนึ่ง เคยมีหลักฐานว่าโคมลม และโคมไฟ จากอ.พิบูลย์รักษ์ เคยลอยไปเป็นร้อยๆ กิโลเมตรไปตกที่ประเทศ สปป.ลาว และจังหวัดไกลๆ ส่วนความเป็นมาเป็นไปของประเพณีปล่อยโคมลม และโคมไฟ ที่อำเภอพิบูลย์รักษ์นั้น ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเพณีดังกล่าวมีมากันตั้งแต่เมื่อใด
ในอดีตได้มีการเล่าต่อสืบเนื่องต่อกันมาว่า เดิมอ.พิบูลย์รักษ์ เป็นเพียงชุมชนบ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ชื่อว่า “บ้านไทย” ก่อตั้งขึ้นมาโดย “หลวงปู่พิบูลย์” เมื่อประมาณ 100 ปี เศษมาแล้ว คือประมาณ พ.ศ.2443 โดยมีประวัติสืบต่อกันมาว่า “หลวงปู่พิบูลย์” เป็นพระภิกษุธุดงค์มาจากภูอาก ประเทศลาว และได้พบกับวัดร้างแห่งหนึ่งที่มีโบราณวัตถุเป็นแท่งศิลาแลง จึงได้ชักชวนชาวบ้านไทยที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ ห้วยหลวง มาช่วยกันบูรณะวัดแห่งนี้และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดพระแท่น” ต่อมาหลวงปู่พิบูลย์ ได้ขอให้ชาวบ้านไทยอพยพจากที่ตั้งเดิมมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้วัดที่ช่วยกันบูรณะใหม่ และตั้งชื่อชุมชนแห่งใหม่นี้ว่า “บ้านแดง” โดยการปกครองขึ้นอยู่กับ อ.หนองหาน ต่อมาเมื่อชุมชนขยายมากขึ้นก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นตำบล กิ่งอำเภอ และเป็นอำเภอในที่สุดอ้างอิง https://sites.google.com/site/toptakeshi/xudrthani/prapheni-laea-kickrrm-thi-sakhay
ความเชื่อของชุมชนชาวบ้านที่ว่าในช่วงการเข้าพรรษา พระสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่เฉพาะแต่ในวัด ไม่สามารถออกธุดงค์โปรดสัตว์ไปในที่ต่างๆ ได้ จึงเป็นโอกาสให้ภูตผีปีศาจออกมาสร้างเหตุเภทภัย ให้กับชาวบ้านเป็นประจำทุกปี เทวาอารักษ์ที่สถิตอยู่บนสวรรค์ จึงลงมาปกปักษ์รักษาชาวบ้านในช่วงเข้าพรรษา ดังนั้นเมื่อถึงช่วงออกพรรษาชาวบ้านจึงมีการปล่อยโคมลม และโคมไฟ เพื่อเป็นการส่งเหล่าเทวดาเหล่านั้นกลับคืนสู่สวรรค์
นอกจากคติความเชื่อดังกล่าวนี้แล้ว ชาวบ้านในสมัยโบราณยังได้ใช้ประโยชน์จากโคมลม และโคมไฟในแง่ของการสื่อสารอีกทางหนึ่งด้วย โดยชาวบ้านจะเขียนใบฎีกาบอกบุญต่างๆ เช่น การทำบุญบูรณะซ่อมแซมวัดที่ชำรุดทรุดโทรม หรือการทำบุญในเทศกาลต่างๆ ผูกติดกับโคมดังกล่าว แล้วก็ปล่อยให้ลอยขึ้นท้องฟ้า เมื่อโคมลม และโคมไฟดังกล่าวลอยไปตกที่ใด ข่าวการบอกบุญก็จะแพร่กระจายไปถึงที่นั้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแขนงหนึ่ง เคยมีหลักฐานว่าโคมลม และโคมไฟ จากอ.พิบูลย์รักษ์ เคยลอยไปเป็นร้อยๆ กิโลเมตรไปตกที่ประเทศ สปป.ลาว และจังหวัดไกลๆ ส่วนความเป็นมาเป็นไปของประเพณีปล่อยโคมลม และโคมไฟ ที่อำเภอพิบูลย์รักษ์นั้น ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าประเพณีดังกล่าวมีมากันตั้งแต่เมื่อใด
ในอดีตได้มีการเล่าต่อสืบเนื่องต่อกันมาว่า เดิมอ.พิบูลย์รักษ์ เป็นเพียงชุมชนบ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ชื่อว่า “บ้านไทย” ก่อตั้งขึ้นมาโดย “หลวงปู่พิบูลย์” เมื่อประมาณ 100 ปี เศษมาแล้ว คือประมาณ พ.ศ.2443 โดยมีประวัติสืบต่อกันมาว่า “หลวงปู่พิบูลย์” เป็นพระภิกษุธุดงค์มาจากภูอาก ประเทศลาว และได้พบกับวัดร้างแห่งหนึ่งที่มีโบราณวัตถุเป็นแท่งศิลาแลง จึงได้ชักชวนชาวบ้านไทยที่อยู่ในบริเวณใกล้ๆ ห้วยหลวง มาช่วยกันบูรณะวัดแห่งนี้และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “วัดพระแท่น” ต่อมาหลวงปู่พิบูลย์ ได้ขอให้ชาวบ้านไทยอพยพจากที่ตั้งเดิมมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้วัดที่ช่วยกันบูรณะใหม่ และตั้งชื่อชุมชนแห่งใหม่นี้ว่า “บ้านแดง” โดยการปกครองขึ้นอยู่กับ อ.หนองหาน ต่อมาเมื่อชุมชนขยายมากขึ้นก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นตำบล กิ่งอำเภอ และเป็นอำเภอในที่สุดอ้างอิง https://sites.google.com/site/toptakeshi/xudrthani/prapheni-laea-kickrrm-thi-sakhay
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น